Choosing
a Mate
Young Miens (both boys
and girls) begin looking for a mate at around the age of 15, or older.
Boys are usually the ones who initiate the flirtation, often paying a
special visit to that certain girl he had in mind. Every girl, however,
may refuse, because each girl is given the right to choose which boy is
best for her.
In the old days, boys
were poor, owning an automobile was almost impossible. Most boys had to
walk to their destiny. Sometimes the walking distance (between the boy
and the girl) could be as close as a few houses down the road, or as
far as villages apart. Some boys would get lucky and be welcomed to the
bedroom on their first night. Other boys would have to keep on
searching. Boys who were rejected would have to walk home alone in the
dark.
Very few external rules govern the selection of Mien couples. In principle, the boy and girl should be of different clans, though exceptions can be made. More strictly observed is the custom that older siblings should marry before younger ones. If a younger sibling should want to marry before his/her elder sibling has married, he/she would need to make financial reparations to the elder sibling.
Very few external rules govern the selection of Mien couples. In principle, the boy and girl should be of different clans, though exceptions can be made. More strictly observed is the custom that older siblings should marry before younger ones. If a younger sibling should want to marry before his/her elder sibling has married, he/she would need to make financial reparations to the elder sibling.
When a boy has a crush with
a certain girl, or found his “thought to be a
lover;” he would then inform his parents about the girl. Soon
his parents would go to the girl’s parents asking for a
duplicate of her birth certificate to take home for a matching purpose.
The matching includes both boy’s and girl’s birth
date, month, year. It is somewhat similar to the astrology, horoscope
reading, or the 12 Zodiac. If the matching part goes well, the
boy’s parents would return to the girl’s home with
a silver bracelet, which is to be displayed atop of the discussion
table. The girl side prepares a small meal, so the two sides can sit on
the table together to introduce themselves, and get to know one
another. After the introduction between the two parents, the girl would
come over and help clean up the table. If the girl likes the boy, she
would accept his bracelet and keep it in a safe place. But if she
dislikes the boy, she would not accept his bracelet, she may return it
immediately, or within 2 days. การสู่ขอ (โท้นิ่นแซง) เมื่อหนุ่มตกลงปลงใจจะแต่งงานกับสาวใดแล้วฝ่ายชาย จะต้องหาใครไปสืบถามเพื่อ ขอทราบวัน เดือน ปีเกิดของฝ่ายหญิง ถ้าพ่อแม่ฝ่ายหญิงยินยอมบอกก็แสดงว่า พวกเขายอมยกให้ หลังจากนั้นก็จะนำเอาวัน เดือน ปี เกิด ของหนุ่มสาวคู่นั้น ไปให้ผู้ชำนาญเรื่องการผูกดวงผู้ชำนาญผูกดวง จะดูว่าทั้งคู่มีดวงสมพงศ์กันหรือไม่ ถ้าดวงไม่สมพงศ์กันฝ่ายชายจะไม่มาสู่ขอ พร้อมแจ้งหมายเหตุให้ฝ่ายหญิงทราบ เมื่อดูแล้วถ้าเกิดดวงสมพงศ์กัน พ่อแม่จึงจัดการให้ลูกได้สมปรารถนา เริ่มด้วยการส่งสื่อไปนัดพ่อแม่ฝ่ายสาวว่า ค่ำพรุ่งนี้จะส่งเถ้าแก่มาสู่ขอลูกสาว แล้วพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะต้องจัดข้าวปลาอาหารไว้รับรอง ระหว่างที่ดื่มกินกันนั้น เถ้าแก่ก็จะนำกำไลเงินหนึ่งคู่ มาวางไว้บนสำรับ เมื่อเวลาดื่มกินกันเสร็จ สาวเจ้าเข้ามาเก็บถ้วยชาม หากสาวเจ้าตกลงปลงใจกับหนุ่มก็จะเก็บกำไลไว้ หากไม่ชอบก็จะคืนกำไลให้เถ้าแก่ ภายใน 2 วัน เถ้าแก่จะรออยู่ดูให้แน่ใจแล้วว่าสาวเจ้าไม่คืนกำไลแล้ว เถ้าแก่จึงนัดวันเจรจา เมื่อถึงเวลาซึ่งวันเดินทางไปนี้สำคัญมาก เพราะมีข้อห้าม และความเชื่อในการเดินทางหลายอย่าง เช่น ขณะเดินทาง ระหว่างทางหากพบคนกำลังปลดฟืนลงพื้น สัตว์วิ่งตัดหน้า ไม้กำลังล้ม คนล้ม ฯลฯ |
||
สิ่งเหล่านี้ คือ
สิ่งที่ส่อไปในทางที่ไม่ดีจะไม่มีโชคตามความเชื่อ แต่ถ้าไม่พบสิ่งเหล่านี้ระหว่างทางก็สามารถเดินทางไปบ้านฝ่ายหญิงได้ และถ้าไปถึงบ้านฝ่ายหญิง
แล้วพบสาวเจ้ากำลังกวาดบ้าน หรือพบคนกำลังเจาะรางไม้
หรือเตรียมตัวอาบน้ำอยู่
พ่อแม่ของฝ่ายชายก็จะเลิกความคิดที่จะไปสู่ขอเหมือนกัน
เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่ดีจะทำให้คู่บ่าวสาวต้องลำบาก
เมื่อพ่อแม่ฝ่ายชายเดินทางไปถึงบ้านฝ่ายหญิงโดยไม่ได้พบอุปสรรคใด ๆ
แล้วครอบครัวของฝ่ายชายจะต้องนำไก่ 3 ตัว ไก่ตัวผู้ 2 ตัว และไก่ตัวเมีย 1
ตัว แล้วนำไก่ตัวผู้ 1 ตัวมาปรุงอาหาร เพื่อเป็นการสู่ขอ
แล้วร่วมกันรับประทาน พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะเชิญญาติอย่างน้อย 2-3 คน
มาร่วมเป็นพยาน ระหว่างที่รับประทานอาหารกันอยู่นั้น
ก็เริ่มเจรจาค่าสินสอดตามประเพณี ซึ่งส่วนใหญ่
ค่าสินสอดจะกำหนดเป็นเงินแท่งมากกว่า
หรือบางครั้งอาจจะใช้เงินก็ได้ตามฐานะ สำหรับไก่อีก 2 ตัว หลังจากฆ่าแล้วจะนำมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษของตระกูลทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นการแจ้งให้บรรพบุรุษทั้งสองฝ่ายให้รับรู้ในการหมั้น พร้อมทั้งฝ่ายชายจะมอบด้ายและผ้าทอหรืออุปกรณ์ในการปักชุดแต่งานไว้ใช้สำหรับงานพิธีแต่งให้กับฝ่ายหญิง เพื่อใช้ปักชุดแต่งงาน เจ้าสาวจะต้องปักชุดแต่งงานให้เสร็จจากอุปกรณ์ที่ฝ่ายชายเตรียมไว้ในตอนหมั้นและเจ้าสาวจะไม่ทำงานไร่ จะอยู่บ้านทำงานบ้านและปักผ้าประมาณ 1 ปี ส่วนเจ้าบ่าวต้องเตรียมอาหารที่จะใช้เลี้ยงแขกและทำพิธีกรรมเช่น หมู ไก่ และจัดเตรียมเครื่องดนตรี จัดบุคคลที่จะเข้าทำพิธีกรรมทางศาสนา และอุปกรณ์การจัดงานทั่วไป หลังจากหมั้นแล้วบ่าวสาวจะอยู่ด้วยกันที่บ้านฝ่ายใดก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน |
พิธีแต่งงานใหญ่ (ต่ม ชิ่ง จา) พิธีนี้เป็นพิธีใหญ่ซึ่งจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง คนที่จัดพิธีใหญ่นี้ส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีฐานะดี จะใช้เวลาในการทำพิธี 3 คืน 3 วัน ซึ่งจะต้องใช้เวลาเตรียมงานกันเป็นปี คือ ต้องเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ไว้ให้พอกับการเลี้ยงแขก วันแรก ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดคนไปรับเจ้าสาวตั้งแต่ก่อนเช้า โดยจะมีคนเตรียมบรรเลงเพลงประกอบไปด้วย ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดเตรียมสถานที่โดยการจัดม้านั่งเป็นวงกลมไว้ และขบวนของเจ้าสาวนั้นจะมี 1 คน ถือปลายผ้าเช็ดหน้า เพื่อจูงมือเจ้าสาวซึ่งอาจเป็นน้องของเจ้าสาว ส่วนน้องชายของเจ้าสาวอีก คนหนึ่ง จะทำหน้าที่แบกสัมภาระของเจ้าสาวที่จะต้องนำมาใช้ในบ้านเจ้าบ่าว อีกคนจะมีหน้าที่กางร่มให้เจ้าสาว เพื่อนเจ้าสาวแต่ละคนจะแต่งตัวด้วยชุดชนเผ่าเต็มยศเช่นกัน เมื่อขบวนของเจ้าสาวมาถึง จะยังไม่ได้นั่งจะให้ยืนอยู่กลางวงก่อน โดยจะมีเพื่อนเจ้าสาวสองคนคอยยืนล้อมรอบเจ้าสาว วงดุริยางค์ จะเล่นดนตรีวนทั้ง 3 คน แล้วจะแห่สอดแทรกเข้าไปรอบ ๆ เจ้าสาว และทำความเคารพ |
วันที่สอง
เจ้าสาวจะต้องตื่นนอนแต่เช้ามืดเพื่อเตรียมตัวทำพิธีตามขั้นตอน แล้วเข้าบ้านเจ้าบ่าว การเข้ามาในบ้านนั้นจะต้องเข้าทางประตูใหญ่ พอเสร็จพิธีกรรมอะไรแล้วก็มีการดื่มกินกันทั่วไป
วันที่สาม
จะเป็นการกินเลี้ยงส่วนใหญ่จะ่ฉลองอย่างเดียวจะไม่ค่อยมีพิธีกรรมอะไรมาก นอกจากการบรรเลงตนตรี เป่าปี่ ตีกลองให้งานสนุกสนานรื่นเริง กลางคืนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะออกมายกน้ำชาให้กับแขกที่มาร่วมงานก็เป็นอันว่าเสร็จพิธี
พิธีแต่งงานเล็ก (ชิ่งจาตอน)
พิธีต่าง ๆ จะเป็นการกินเลี้ยงฉลองอย่างเดียวไม่มีพิธีกรรมอะไรมาก จะใช้เวลาทำพิธีเพียงวันเดียว เจ้าสาวไม่ต้องสวมที่คุมที่มีน้ำหนักมาก และพิธีเล็กนี้ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก จุดสำคัญของการแต่งงานของเมี่ยน คือ ตามที่เจ้าบ่าวตกลงสัญญาจ่ายค่าตัวเจ้าสาวกับพ่อแม่ของเจ้าสาวไว้ เพื่อเป็นการทดแทนที่ได้เลี้ยงดูเจ้าสาวมา และฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องบอกวิญญาณบรรพบุรุษของตนเองยอมรับ และช่วยคุ้มครองเจ้าสาวด้วย ประการสุดท้ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องดื่มเหล้าที่ทำพิธี แล้วร่วมแก้วเดียวกัน การแต่งงานของเมี่ยนนั้นจะต้องทำตามประเพณีทุกขั้นตอนอย่างพิถีพิถัน และเป็นไปในลักษณะที่ให้เกียรติิซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย
http://mien.hilltribe.org/english/
No comments:
Post a Comment